RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory
RAM คือ
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์
มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของ
คอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้
CPU (Central Processing Unit)
ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ
ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง
RAM จะ
ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น
จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access
ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บ
ข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล
Hard Disk
Hard Disk คือ อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น Hard Disk จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจาก Hard Disk เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี Hard Disk ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ Hard Disk จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก Hard Disk
Microprocessor
Microprocessor คือ
ตัวผลประมวลใน microchip บางครั้งเรียกว่า logic chip ซึ่ง
ไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน
เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดย ไมโครโพรเซสเซอร์
ได้รับการออกแบบในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ
ซึ่งใช้พื้นที่ขนาดเล็กที่เรียกว่า register การทำงานของ ไมโครโพรเซสเซอร์
แบบดั้งเดิมใช้สำหรับการบวก ลบ การเปรียบเทียบค่า
และการนำข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังที่อื่น
การทำงานเหล่านี้เป็นผลจากกลุ่มของคำสั่ง (instruction)
ที่เป็นส่วนของการออกแบบ ไมโครโพรเซสเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ไมโครโพรเซสเซอร์ ได้รับการออกแบบให้ไปดึงคำสั่งแรกจาก BIOS หลังจากนั้น
BIOS จะได้รับนำมาอยู่หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลคำสั่ง
รวมถึงการเรียกโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ
แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้น
พิมพ์
หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน
ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์
โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์
ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน
มาก
ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า
เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร
เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง
ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส
(Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด
เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ
การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษรต่างๆ บนแป้นพิมพ์ ในส่วนของภาษาอังกฤษ แป้นพิมพ์โดยทั่วไปจะจัดแบบ
QWERTY (ตั้งชื่อตามตัวอักษรบริเวณแถวบนด้านซ้าย)
ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มใช้แบบ Dvorak โดยคิดว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่า เนื่องจากแป้นพิมพ์แบบ QWERTY จงใจออกแบบมาเพื่อไม่ให้พิมพ์ได้เร็วเกินไป ตั้งแต่สมัยของพิมพ์ดีดที่ไม่ใช้ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์
ซึ่งก้านตัวพิมพ์มักจะเกิดการขัดกันเมื่อผู้ใช้พิมพ์เร็วเกินไป ในส่วนของแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็แบ่งออกได้
2 แบบ เช่นกัน คือ
แป้นพิมพ์ปัตตโชติ ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์รุ่นเดิม
แป้นพิมพ์เกษมณี ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
